ไม้ประดับลดโลกร้อน


cleanairgardening.com
ได้สรุปความรู้เรื่อง ไม้ประดับขจัดพิษ หรือ ถ้าจะให้เป็นคำฮิต พ.ศ. นี้ก็คือ ไม้ประดับลดโลกร้อน (Eco-friendly or GREEN House Plant)

จากการศึกษาขององค์การนาซา (NASA) และ Associated Landscape Contractors of America (ALCA) ได้ค้นพบว่าไม้ประดับธรรมด้า ธรรมดา นี่แหละ สามารถขจัดพิษ หรืออีกนัยหนึ่งคือลดโลกร้อนได้!!! ดร.บีซี วูฟเวอร์ตัน (Dr. B.C. Wolverton) นักวิทยาศาสตร์ประจำสถาบันวิจัยอวกาศองค์การนาซาของอเมริกา ค้นพบว่าไม้ประดับหลายชนิดมีประสิทธิภาพการกำจัดสารพิษหรือมลภาวะในอากาศได้ เช่น สารพิษ ฟอร์มาดิไฮด์ เบนซีน และไตรคลอโรเอธิลีน เป็นต้น

ส่วนการลดโลกร้อนเนี่ยก็เป็นกระบวนการต่อเนื่อง ที่ว่า ไม้ประดับเหล่านี้สามารถกำจัดสารต้นทาง (Radicle) ได้ ปลายทางก๊าซเรือนกระจก (6 ชนิดที่ประเมินภายใต้พิธีสารเกียวโต ได้แก่ คาร์บอนไดออกไซด์: CO2, มีเทน: CH4, ไนตรัสออกไซด์: N2O, ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน: HFCs, เพอร์ฟลูออโรคาร์บอน: PFCs, และซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์: SF6) ก็ลดลงไปด้วย

ธรรมชาติสร้างให้ไม้ประดับเล็กๆ มีความสามารถดึงดูดจุลินทรีย์ให้มาอยู่บนหรือรอบๆ รากของมันซึ่งมีความย่อย สลายโครงสร้างอินทรีย์สารที่ซับซ้อนได้ใบของต้นไม้ยังสามารถดูดซับสาร อินทรีย์ที่เป็นแก๊สและย่อยหรือถ่ายโอนของเสียไปยังรากเพื่อใช้เป็นอาหาร สำหรับจุลินทรีย์ เหตุนี้เองทำให้ไม้ประดับสามารถดูดสารพิษ ได้อีกทั้งกระบวนการ “คายน้ำ”ก็เป็นอีกวิธีที่พืชใช้เคลื่อนย้ายสารที่เป็นมลพิษ ไปยังจุลินทรีย์ที่อยู่รอบๆรากของมันกระบวนการคายน้ำต้องใช้กระแสความร้อน ทำให้เกิดการไหลเวียนของอากาศในขณะที่น้ำไหลจากรากขึ้นไปยังส่วนต่างๆ ของพืชอย่างรวดเร็วอากาศจะถูกดึงลงไปสู่ดินรอบๆ ราก ก๊าซออกซิเจนและก๊าซไนโตรเจนในอากาศเมื่อถูกดึงไปอยู่ที่รากก๊าซไนโตรเจนจะถูกเปลี่ยนไปโดย จุลินทรีย์เป็นไนเตรทกลายเป็นอาหารของพืชกระบวนการคายน้ำและสังเคราะห์อาหารได้เองของพืชจำพวกไม้ประดับนี่เองที่ดูดสารพิษ

นั่นก็เพราะต้นไม้โดยเฉพาะจำพวกที่อยู่ในตระกูลไม้ประดับ เป็นพืชที่มีการปรับตัว และเติบโตได้ดีในที่ที่มีแสงน้อย และสามารถดูดสารพิษด้วยกรรมวิธีการคายน้ำ โดยจะทำการดูดก๊าซพิษที่อยู่รอบๆ ลงสู่ดินและจุลินทรีย์ที่อยู่รอบๆ รากจะเป็นตัวเปลี่ยนให้สารพิษเหล่านั้นกลายไปเป็นอาหารของพืชนั่นเอง

จากการศึกษาค้นคว้าของ NASA นี้, ไม้ประดับ ในเมืองไทยที่จัดเป็นไม้ประดับลดโลกร้อน หรือ ไม้ประดับขจัดพิษนี้คือ ตัวอย่างในภาพค่ะ โดยได้รับการรวบรวมจาก 2 แหล่งความรู้ คือ วิชาการ.com และ ปตท. โครงการ 1 ล้านกล้าถวายพ่อ:



โชคดีที่ Parichari ได้มีไม้ประดับเหล่านี้อยู่หลายประเภททีเดียว เพียงแต่ยังไม่ได้วางเอาไว้ขจัดสารพิษในบ้านเท่านั้น 😛 คราวหน้าคงได้มีโอกาสนำมาลง Blog ให้ติดตามกันอีกค่ะ และไม้ประดับเหล่านี้จะเติบโตและงดงามไปไม่ได้เลยถ้าไม่ได้รับการดูแลจาก “ลุงมุ่ง” ผู้ดูแลต้นไม้ทั้งพื้นที่กว้างใหญ่นี้บนเกาะสมุยแห่งนี้ค่ะ

Click here to visit our English version