สรุปค่าใช้จ่ายที่จะมีในวันทำการโอนกรรมสิทธิ์
2.1 ค่าภาษีเงินได้ (สำหรับบุคคลธรรมดา)
คิดตามอัตราภาษีก้าวหน้าโดยใช้ราคาประเมินของกรมที่ดิน (ไม่ใช่ราคาซื้อขายจริง) ….
-
จริงๆแล้วค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ผู้ขายควรเป็นผู้ชำระ แต่ทั้งนี้ก็แล้วแต่ตกลงกับผู้ขายว่าจะออกกันคนละครึ่งหรืออย่างไร
ราคาประเมินกรมที่ดิน คิดจากราคาประเมินราชการของที่ดิน ตามทำเลและขนาด นำไปบวกรวมกับราคาสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของสิ่งปลูกสร้าง เช่น ตึกแถว 3 ชั้น , บ้านเดี่ยว 2 ชั้น เป็นต้น
สำหรับขั้นตอนการคำนวณ ขอให้อ่านจากความคิดเห็นที่ 10 ที่นี่ได้เลย เขียนเข้าใจง่ายที่สุดแล้วค่ะ
2.2 ค่าธรรมเนียมการโอน
คิด 2% ของราคาประเมินเช่นกัน
2.3 ค่าอากร 0.5% ของราคาซื้อขายหรือราคาประเมินแล้วแต่ราคาใดจะสูงกว่า
ข้อนี้จะขออธิบายให้ชัดเจนว่า ทางกรมที่ดินจะจัดทำสัญญาซื้อขายขึ้นมาอีกหนึ่งฉบับ (ไม่ใช่สัญญาจะซื้อจะขายที่เราทำกันเองกับผู้ขาย คนละฉบับกัน) ซึ่งแน่นอนว่าคงไม่มีใครแจ้งราคาซื้อขายกันจริง เพียงแต่อย่าแจ้งให้ต่ำกว่าราคาประเมินเท่านั้น เพราะหากแจ้งต่ำกว่าราคาประเมิน ค่าอากรก็จะคิดจากราคาตัวที่สูงกว่าซึ่งก็คือราคาประเมินนั้นเอง
2.4 ค่าจดจำนอง 1% ของวงเงินกู้
ในกรณีที่ผู้ซื้อกู้เงินจากสถาบันการเงิน
ทั้งหมดนี้ สามารถคำนวณเบื้องต้นคร่าวๆได้เองจาก link นี้คะ
-
จะเห็นว่า การใส่ราคาซื้อขายในสัญญาจะซื้อจะขายไม่ว่าจะใส่มากหรือน้อย ก็ไม่มีผลต่อค่าใช้จ่ายที่กรมที่ดินเลยค่ะ
สุดท้าย เมื่อเตรียมเอกสารต่างๆครบเรียบร้อยแล้ว ก็ไปทำเรื่องยื่นกู้กับธนาคารได้เลยค่ะ ธนาคารจะส่งเรื่องไปให้บริษัท(เอกชน)มาทำการประเมินราคาบ้าน (ภายใน 7 วัน) โดยเราเป็นผู้ชำระค่าประเมินให้กับทางตัวแทนโดยตรง (ประมาณ 2,500 บาท) หากผลประเมินได้ราคาที่ต่ำกว่าวงเงินที่เรายื่นกู้ ก็แปลว่า เราจะไม่ได้จำนวนเงินตามที่ยื่นขอกู้ไว้ ได้แค่ตามผลประเมิน ซึ่งจากการที่ได้สอบถามหลายๆท่าน ก็มักจะจ่ายให้ตัวแทนมากขึ้น
นี่ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการประเมินซึ่งแสดงถึงความไม่มีมาตรฐาน แต่หากมองกลับกันจะเห็นว่าเป็นอีกอาชีพหนึ่งที่น่าสนใจค่ะ สำหรับพวกไร้จรรยาบรรณในวิชาชีพ -“-
จาก Blogger หน้าใหม่ (*_*) ANPAN